ความสำคัญของดนตรีต่อสังคม
ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของวิจิตรศิลป์ เป็นสิ่งที่มนุษย์ในสังคมประดิษฐ์ขึ้นซึ่งแต่ละวัฒนธรรมก็จะคิดและพัฒนาดนตรีเพื่อนำมาใช้สมองต่อจุดประสงค์ของตนเอง ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมเช่นเดียวกันความเชื่อทางศาสนา ศีลธรรม กฎหมาย และประเพณีความสำคัญของดนตรีต่อสังคมนั้นอาจมองเห็นไม่ชัดเจน ไม่เหมือนวรรณกรรมและจิตรกรรมที่มีรูปแบบชัดเจน ภาพของชีวิตที่อยู่รอบข้างเรานั้นดูเหมือนจริงและชัดเจนกว่าดนตรี เนื่องจากดนตรีเป็นเรื่องของเสียง เป็นนามธรรม เป็นศิลปะที่อยู่ในเวลาทั้งที่ผ่านมาในอดีต ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย หลายคนอาจจะเคยคิดว่าศิลปะของเสียงเป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลจากชีวิตมนุษย์แต่แท้ที่จริงแล้วดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของสังคม แม้แต่สังคมคนป่าและสังคมดึกดำบรรพ์แต่โบราณกาลกลุ่มชนเหล่านี้ใช้ดนตรึในการแสดงออกถึงอารมณ์ของตน เช่น แสดงออกถึงความดีใจเมื่อได้รับชัยชนะในการสู้รบ ความสำเร็จในการล่าสัตว์ แสดงออกถึงความรักความอ่อนโยนต่อบุคคลที่เขารัก ศิลปะของดนตรีจึงเริ่มต้นด้วยการแสดงออกทางอารมณ์และจากประสบการณ์ต่าง ๆ ทางสังคม ดังนั้นมนุษย์จึงไม่สามารถแยกดนตรีออกจากชีวิตประจำวันได้ ไม่ว่าจะเป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ที่แสดงออกในพิธีทางศาสนาในงานเทศกาลหรือพิธีการต่างๆในสังคมของคนพื้นเมือง ดนตรีการเต้นระบำหรือนาฏศิลป์ แสดงให้เห็นถึงความหมายที่แท้จริงของดนตรีที่มีต่อสังค
ในการเต้นระบำหรือนาฏศิลป์ ดนตรีทำหน้าที่เป็นเครื่องประกอบจังหวะในการเคลื่อนไหวรางกายและเป็นส่วนสนับสนุนในการแสดงออกของอารมณ์ พื้นฐานของการสนองตอบต่ออารมณ์โดยการเด้นระบำหรือนาฏศิลป์นั้นเหมือนกันทั่วโลก แต่ดนตรีและท่าทางการเคลื่อนไหวจะต่างกันในแต่ละประเทศ นอกจากนี้การเต้นระบำหรือนาฏศิลป์ยังสะท้อนให้เห็นถึงยุคต่างๆ ในประวัติศาสตร์ และสภาพชีวิตสังคมเมืองและสังคมในชนบท ซึ่งการแสดงทั้งสองอย่างนี้จะขาดดนตรีไม่ได้
ดนตรีได้ถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของงานเทศกาล และงานรื่นเริงต่างๆ เพราะดนตรีมีส่วนช่วยให้งานนั้นสนุกสนานและเป็นที่น่าประทับใจ เช่น การเดินขบวนของวงโยธวาทิต ก่อให้เกิดบรรยากาศที่เร้าใจแจะปลุกใจ ส่วนพิธีกรรมทางศาสนาก็เกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิดกับดนตรี มนุษย์ร้องเพลงสวดวิงวอนขอความเมตตาปรานีจากพระผู้เป็นเจ้า ส่วนเพลงพื้นเมืองก็จะสัมพันธ์กับกิจกรรมทางสังคมมากกว่าที่เป็นรูปแบบของศิลปะ
โดยทั่วไปในแต่ละสังคม วัฒนธรรมจะเป็นผู้กำหนดการแสดงออกทางดนตรีของตนเอง เช่น สังคม
ตะวันตก ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของวิจิตรศิลป์ซึ่งจัดเป็นประเภทเดียวกับวรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม
และสถาปัตยกรรม แต่ในสังคมอื่นอาจไม่ใช่ เช่น ในสังคมอินเดีย การร้องเพลงถูกใช้เพื่อก่อให้เกิดพลัง
ในการสู้รบ และเวลาออกล่าสัตว์หรือใช้รักษาคนป่วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น