องค์ประกอบดนตรี

องค์ประกอบทางดนตรี
     องค์ประกอบทางดนตรี หมายถึง รายละเอียดทางดนตรีต่าง ๆ ที่นำมาประกอบกันเป็นบทเพลง ทำให้เพลงมีความสมบูรณ์ เกิดความไพเราะ ดังนั้น เราจึงต้องเรียนรู้ถึงองค์ประกอบของดนตรีเพื่อสร้างความเข้าใจในบทเพลงต่างๆได้ดีขึ้น ซึ่งองค์ประกอบทางดนตรีที่ควรเรียนรู้ มีดังนี้

1)จังหวะ (Rhythm)
     
     จังหวะ(Rhythm)  หมายถึงเสียงยาว ๆ สั้น ๆ หรือเสียงหนัก ๆ เบา ๆ ซึ่งประกอบอยู่ในส่วนต่างๆของบทเพลง มีองค์ประกอบทั่วๆไป ดังนี้ อัตราจังหวะ (Time) คือการจัดแบ่งจังหวะเคาะออกเป็นกลุ่มๆ เพื่อทำให้เกิดการเคาะจังหวะ และการเน้น อย่างสม่ำเสมอ การจัดกลุ่มจังหวะเคาะที่พบในบทเพลงทั่วๆไปคือ 2, 3, และ4 จังหวะเคาะ   
ตัวอย่างเช่น
    อัตรา 2 จังหวะ 1-2-1-2-1-2-1-2-1-2
    อัตรา 3 จังหวะ 1-2-3-1-2-3-1-2-3-1-2-3-1-2-3
    อัตรา 4 จังหวะ 1-2-3-4-1-2-3-4-1-2-3-4-1-2-3-4-1-2-3-4
    ความเร็วจังหวะ (Tempo) หมายถึงความช้าหรือความเร็วของบทเพลงนั้น โดยผู้ประพันธ์เพลงเป็นผู้กำหนดขึ้น การกำหนดอัตราความเร็วของจังหวะ มีการกำหนดศัพท์ขึ้นมาใช้โดยเฉพาะ โดยจะเขียนอยู่บนและตอนต้นของบทเพลง ตัวอย่างคำศัพท์ที่กำหนดความเร็วจังหวะ เช่น Largo=ช้ามาก   Andante=ช้า Moderato=ปานกลาง   Allegro=เร็ว    Presto=เร็วมาก
    ลีลาจังหวะ (Rhythmic Pattern) หมายถึงกระสวนของจังหวะ หรือรูปแบบของจังหวะ ที่ถูกกำหนดขึ้นมา เพื่อใช้บรรเลงประกอบบทเพลง เช่น ลีลาจังหวะรำวง ลีลาจังหวะตลุง ลีลาจังหวะมาร์ช (March) ลีลาจังหวะวอลทซ์ (Waltz) ลีลาจังหวะสโลว์ (Slow) ลีลาจังหวะแทงโก (Tango) ลีลาจังหวะร็อค (Rock) เป็นต้น




2)ทำนอง (Melody)
     
     ทำนองเพลง (Melody)  หมายถึงเสียงดนตรีที่มีความแตกต่างในด้านระดับเสียง และด้านความยาวของเสียง มาจัดเรียบเรียงให้ดำเนินต่อเนื่องไปตามแนวนอน เราเรียกว่าทำนอง ทำนองเป็นองค์ประกอบของบทเพลงที่จำง่ายมากกว่าองค์ประกอบอื่นๆ ทำนองเพลงจะมีความหลากหลายลักษณะแตกต่างกันออกไป องค์ประกอบของทำนองเพลง ได้แก่
     ทิศทางการเคลื่อนที่ของทำนอง (Direction of Melody) ทำนองเพลงอาจเคลื่อนไปในหลายทิศทาง เช่น การเคลื่อนที่ขึ้น การเคลื่อนที่ลง อยู่กับที่ หรือการซ้ำของทำนอง โดยปกติทำนองมักจะเคลื่อนที่ถึงขั้นจุดสูงสุด เมื่อเนื้อหาของเพลงถึงจุดสำคัญที่สุด พิกัดของทำนอง (Dimension of Melody) 
พิกัดของทำนองประกอบด้วย  2 ส่วน คือ
     ด้านความยาว (Length) หน่วยที่ใช้วัดความยาวของทำนองเพลงคือ ห้องเพลง (Measure หรือ Bar)
     ด้านระดับความกว้างของเสียง (Range) หมายถึงระดับเสียงสูงสุด และต่ำสุดของบทเพลง
     รูปร่างของทำนองเพลง (Contour of Melody) หมายถึงแนวเส้นที่ลากจากโน้ตทุกโน้ตของทำนองเพลง ตั้งแต่โน้ตแรกจนถึงโน้ตสุดท้าย ทำให้เกิดเป็นแนวเส้นที่เป็นรูปร่างของทำนองเพลง
     จังหวะของทำนอง (Melodic Rhythm) หมายถึง ความสั้นยาวของระดับเสียงแต่ละเสียงที่ประกอบกันเป็นทำนอง






3)เสียงประสาน (Harmony)


        

     เสียงประสาน (Harmony) เสียงประสาน คือเสียงดนตรีต่างๆที่ถูกกำหนดให้บรรเลงขึ้นพร้อมๆกัน ด้วยนักเรียบเรียงเสียงประสาน ตามหลักวิชาการประสานเสียง เพื่อทำให้เสียงต่างๆในบทเพลงนั้นเกิดความกลมกลืน และความไม่กลมกลืน ช่วยปรุงแต่งทำนองเพลงที่ไพเราะอยู่แล้วให้เกิดความสมบูรณ์และไพเราะมากยิ่งขึ้น การประสานเสียงเกิดขึ้นได้ทั้งในแนวตั้ง และแนวนอน ซึ่งการประสานเสียงที่จะให้เกิดความไพเราะนั้น จะต้องอยู่ในรูปของขั้นคู่เสียง (interval) หรือคอร์ด (Chord) ชนิดต่าง ๆ   ในการประสานเสียงนั้น มีทั้งการใช้ทั้งคอร์ดที่มีเสียงกลมกลืน และไม่กลมกลืน   โดยทั่วไปแล้ว คอร์ดที่มีเสียงกลมกลืน จะใช้มากกว่าคอร์ดที่มีเสียงไม่กลมกลืน









รูปแบบ(Form)
     
     คือ รูปแบบของเพลงเป็นโครงสร้างที่ทำให้ดนตรีมีความหมายในลักษณะของเสียงกับเวลา รูปแบบช่วยให้ดนตรีมีความต่อเนื่องสัมพันธ์ และทำให้มีความเป็นหนึ่ง รูปแบบอาจประกอบไปด้วยทำนองหลัก ทำนองรอง มีความสั้นยาวที่แตกต่างกัน มีการซ้ำทำนองหลักและทำนองรองซึ้งจะแตกต่างกันออกไปแล้วแต่บทเพลง

5)สีสันของเสียง (Tone Color)

        
     สีสันของเสียง (Tone Color or Timbre) คือ คุณสมบัติทางด้านเสียงของเครื่องดนตรีชนิดต่าง ๆ  รวมทั้งเสียงร้องของมนุษย์ ซึ่งมีความแตกต่างกัน นำมาบรรเลงร่วมกัน  จะทำให้เกิดสีสันของเสียงแตกต่างกันไป ตามความสูง ต่ำ ของเสียง  ตามลักษณะของการบรรเลง และตามลักษณะของการประสมวง









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น